Dankwian Logo
The land of Ceramics.     
Amazing Thailand   Award 2537   Otop std. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โอทอป
 
   
Home | History | Manufacture | Products | Person | Site map | Travel | Help | Forums Bookmark 
   
   
 
Thai Handicrafts > Earthenware (เครื่องปั้นดินเผา) > วิธีการผลิตเครื่องปั้นดินเผา 

เครื่องปั้นดินเผา
  หน้าแรก (เครื่องปั้นดินเผา)

ประวัติความเป็นมา | ชนิดเครื่องปั้น | ประมวลรูปภาพ | เครื่องมือการผลิต | วิธีการผลิต

เลือกเนื้อดินปั้น

การปั้นให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้นั้น ต้องแล้วแต่ลักษณะของภาชนะหรือรูปของวัตถุประสงค์จะปั้น ประกอบกับความเหนียวของเนื้อดินปั้น ความเหนียวของเนื้อดินปั้นขึ้นอยู่กับการผสมเนื้อดินปั้นกับน้ำ ซึ่งมีส่วนต่าง ๆ กันและจำแนกออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. ดินน้ำ ( Slip ) สำหรับใช้หล่อกับปูนพลาสเตอร์ เนื้อดินปั้นชนิดนี้ผสมกับน้ำประมาณ ร้อยละ 24 - 30 เมื่อผสมแล้ว จะมีเนื้อเหลวเป็นน้ำข้น ๆ เวลาปั้นต้องใช้ปูนพลาสเตอร์เป็นแบบเหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นชนิดที่มีเนื้อดินปั้นบาง ทำการปั้นด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ เช่น แจกัน ถ้วยกาแฟ และเครื่องปั้นชนิดใหญ่ที่มีเนื้อดินปั้นหนามาก ๆ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น

2. ดินเหลว ( Soft -mud ) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณ ร้อยละ 18 -24 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้ว จะมีเนื้ออ่อนเหลวไม่เหนียวมากนัก เวลาปั้นจะต้องมีแบบทำด้วยไม้โลหะ หรือปูนพลาสเตอร์ เพื่อให้เนื้อดินปั้นอยู่ในที่อับตัวจะได้เกาะติดกัน เหมาะสำหรับเครื่องปั้นดินเผาจำนวนอิฐธรรมดา ( Common brick ) อิฐประดับ ( Face brick ) กระเบื้องมุงหลังคา ( Roofing tile ) Jiggered pottery ชาม จาน ( Dinner - waer )

3. ดินเหนียว ( Stiff - mud ) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำ ประมาณร้อยละ 14 -20 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้อเหนียวมาก ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้ เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวกอิฐธรรมดา ( Common brick ) อิฐประดับ ( Face brick ) กระเบื้องปูพื้น ( Floor tile ) อิฐกลวง ( Hollow brick ) ท่อระบายน้ำ ( Sewer pipe ) อิฐทนไฟ ( Refractory brick ) หม้อไห ( Pottery ) กระเบื้องฉนวนไฟฟ้า( Electric porcelain )

4. ดินชื้น ( Dry - press ) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำ ประมาณร้อยละ 6 -14 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้อร่วนชื้นเล็กน้อย เวลาปั้นต้องมีแบบทำด้วยโลหะและอัดให้เป็นรูปด้วยเครื่องจักร ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้ เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวก กระเบื้องปูพื้น ( Floor tile ) กระเบื้องปูฝา ( Wall tile ) อิฐประดับ ( Face brick ) อิฐทนไฟ ( Refractory brick ) กระเบื้องฉนวนไฟฟ้า ( Electric porcelain )

การขึ้นรูป ( Forming )

1. ปั้นวิธีอิสระ ( Free hand ) หรือการปั้นด้วยมือ ( Building by hand ) เป็นการปั้นให้มีรูปเหมือนของจริงหรือเป็นการปั้นภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยมือ เป็นการปั้นที่ใช้ในการทำแม่แบบเพื่อนำไปทำแบบปูนพลาสเตอร์มีเครื่องใช้ คือ ไม้สำหรับตีให้มีรูปกลม มีก้อนหินสำหรับรองรับภายใน

2. ปั้นบนแป้นหมุน ( Throwing on the Potter's Wheel ) การปั้นบนแป้นหมุนจะปั้นได้เฉพาะภาชนะที่มีรูปกลมหรือทรงกลม แบ่งออกเป็น 2 อย่าง

2.1 ปั้นครั้งเดียวเสร็จ เป็นการปั้นของขนาดเล็ก เช่น แจกัน อ่าง กระถาง หรือโอ่งขนาดเล็ก
2.2 ปั้นสองตอนหรือสามตอน เป็นการปั้นของขนาดใหญ่ใช้วิธีปั้นตอนล่างก่อน ผึ่งให้หมาด ขดดินต่อขึ้นไปแล้วนำไปรีดบนแป้นหมุนนำไปผึ่งให้หมาดแล้วต่อขึ้นไปอีกตอนหนึ่ง ถ้าเป็นสามตอนแล้วจึงรีดบนแป้นหมุน ทำเป็นปาก เช่น การปั้นโอ่งเคลือบราชบุรี การปั้นแบบนี้ต้องมีการวัดส่วนสูงและความกว้างของปากและก้นเพื่อให้มีขนาดเท่ากัน แต่ถึงกระนั้นก็ดี ความหนาก็ยังแตกต่างกันอยู่

การตากแห้ง (Drying)
การตากแห้งคือ การไล่น้ำออกจากของที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว การตากแห้งควรให้น้ำระเหยออกไปอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันการแตกร้าวปริมาณของน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปต้องเหมาะสม

การตากแห้งของที่มีขนาดแตกต่างกันทำได้ดังนี้
1. ของใหญ่ ต้องปั้นในที่มิดชิด กันลมโกรกโดยมากโรงปั้นทำหลังคาเกือบถึงพื้นและมีฝาปิดมิดชิด ของที่ปั้นเสร็จแล้วจะต้องคลุมเพื่อมิให้ถูกลมมากเกินไปในระยะหนึ่ง แล้วจึงเอาสิ่งที่คลุมออกผึ่งไว้ในร่ม 3 - 7 วัน จึงเอาออกตากแดด หรือนำไปวางข้างเตาเผา
2. ของเล็ก ผึ่งในร่มชั่วระยะหนึ่งแล้วเอาออกตากแดด
3. การตากในแสงแดดควรจะหมุนให้ถูกแดดทั่วกันทุกด้าน เพื่อกันการแตกร้าว บิดเบี้ยวของที่แตกแห้งสนิทแล้วจะทำให้ปริมาณการแตกสียหายจากการเผาดิบลดน้อยลง
4. ของที่ตากแห้งในเตาอบไฟฟ้า (Electric Oven) ความร้อนครั้งแรกไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิอย่างช้า ๆ จนถึง 110 องศาเซลเซียส เพื่อให้แห้งสนิท

การออกแบบ

ความรู้พื้นฐานในการออกแบบ
1. ความรู้ในวัตถุประสงค์ของงานที่จะออกแบบ ตัวอย่าง เช่น
1.1 การออกแบบเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นภาชนะ หม้อ ไห ถ้วยชาม
1.2 การออกแบบของใช้อื่น ๆ เช่น แผ่นกระเบื้อง กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องประดับผนัง เครื่องประดับอื่น ๆ สุขภัณฑ์
1.3 การออกแบบงานปฏิมากรรม เครื่องเคลือบ

การออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยตามแต่ละชนิดของของที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ลักษณะ ขนาด และมีความงามเหมาะสมจึงจะเป็นลักษณะของการออกแบบที่ดี

2. คุณค่าทางความงาม สุนทรียภาพ (Aesthetic) วิจิตรศิลป์ (Fine art) การออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปะไม่ว่าแขนงใด จะต้องมีคุณค่าทางด้านความงาม ฉะนั้นเพื่อให้ได้คุณค่าด้านความงามอย่างสมบูรณ์ นักออกแบบที่ดีควรมีความรู้ในด้านความงาม

การเคลือบ

เคลือบ คือชั้นของแก้วบางๆ ที่หลอมละลายติดอยู่กับผิวดินซึ่งขึ้นรูปเป็นภาชนะทรงต่างๆ วัตถุดิบที่เป็นน้ำยาเคลือบถูกบดจนละเอียดมากกว่าดินหลายเท่า ก่อนนำมาเคลือบบนดินเผา เป็นชั้นหนา 1-1.5 มม. เมื่อเคลือบแล้วต้องทิ้งให้ผลิตภัณฑ์แห้ง เช็ดก้นผลิตภัณฑ์ให้สะอาดก่อนเข้าเตาเผา ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้ว โดนเผาผ่านความร้อนอุณภูมิสูง วัตถุดิบที่เป็นแก้ว ในเคลือบเมื่อถึงจุดหลอมละลาย ชั้นของเคลือบจะกลายเป็นแก้วมันวาวติดอยู่กับผิวดิน

เคลือบช่วยให้การล้างภาชนะสะดวก เนื่องจากเคลือบมีสมบัติลื่นมือ สามารถทำความสะอาดง่ายกว่าผิวดินที่มีลักษณะ ค่อนข้างหยาบ

เคลือบมีคุณสมบัติเป็นแก้วไม่ดูดซึมน้ำ และยังเพิ่มความแข็งแรงทนทาน ทำให้ภาชนะดินเผาไม่บิ่นง่าย เมื่อกระทบกันบ่อยๆขณะล้างทำความสะอาด และสามารถใส่ของเหลวได้โดยไม่รั่วซึม

 

ประกาศ แนะนำสินค้าหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ งานโอทอป ทั่วไทย

งานฝีมือ | งานหินทราย | เครื่องเขิน | เครื่องเงิน | เครื่องปั้นดินเผา | เครื่องเพชรพลอย | เซรามิก | อื่นๆ จิปาถะ

   
 

Cast Stone Garden

The Dan Kwian products become one of the major export goods from Korat, Thailand.
copyright © 1999 - 2021 DanKwian.com : The Land of Ceramics.