Dankwian Logo
The land of Ceramics.     
Amazing Thailand   Award 2537   Otop std. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โอทอป
 
   
Home | History | Manufacture | Products | Person | Site map | Travel | Help | Forums Bookmark 
   
   
 
Thai Handicrafts > Earthenware (เครื่องปั้นดินเผา)

เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
  หน้าแรก (เครื่องปั้นดินเผา)

ประวัติความเป็นมา | ชนิดเครื่องปั้น | ประมวลรูปภาพ | เครื่องมือการผลิต | วิธีการผลิต

ประวัติความเป็นมาในไทย สมัยยุคหิน

1. สมัยยุคหินเก่า (Old stone Age หรือ Paleolithic Age) มนุษย์ในสมัยยุคหินเก่ายังไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเพราะยังกินอาหารดิบอยู่ มนุษย์พวกนี้จัดอยู่ในมนุษย์พันธ์นิกริโตส

2. สมัยยุคหินใหม่ มนุษย์ยุคนี้มีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมมากขึ้น ทั้งทางด้านหุงต้ม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และปฏิมากรรม รู้จักการตกแต่งที่อยู่อาศัย เขียนภาพ แกะสลักภาพ การสานทอเครื่องนุ่งห่ม มีความต้องการเครื่องปั้นดินเผา มนุษย์ยุคนี้แยกตามสายวัฒนธรรมได้ 2 สาย คือ

    2.1 สายที่หนึ่ง มนุษย์ยุคหินใหม่ที่สืบเชื้อสายมาจากมนุษย์ยุคหินเก่าที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศไทย เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีส่วนผสมของดินกับทราย ไม่เคลือบเผาไฟต่ำสุกไม่ตลอด มีการตกแต่งลวดลาย ขูดลึกลงในเนื้อดิน รูปทรงเตี้ย ปากกว้าง มีส่วนโค้งน้อย ขึ้นรูปด้วยวิธีขดขูดให้เรียบและใช้ไม้ตีผิวให้เรียบบางเสมอกัน

    2.2 สายที่สอง เป็นพวกที่เคลื่อนย้ายมาจากอาณาจักรจีนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 4500 ปี ราวยุคหินใหม่ตอนปลาย(Chaleolithic) ต่อกับยุคโลหะ (Bronze Age) เครื่องปั้นดินเผามีลักษณะปากแคบ คอสูง กันกลม มีส่วนโค้งมาก ปั้นรูปด้วยมือ ตกแต่งลวดลายด้วยลายเสื่อ (Mat Design Marking) ขัดผิวเรียบ ขัดเงา เนื้อดินเผาแล้วแข็งมาก มีส่วนผสมของหินมาก ยุคนี้ใช้ความร้อนสูงประมาณ 1000 - 1200 ซ.

ประวัติความเป็นในไทย สมัยก่อนสุวรรณภูมิ

สมัยก่อนสุวรรณภูมิ ( ประมาณก่อน พ.ศ. 50 ปี - พ.ศ. 300 ) ดินแดนบางส่วนของประเทศไทยคือจังหวัดนครปฐมในปัจจุบันเคยมีชื่อเรียกว่า สุวรรณภูมิ ก่อนที่จะมีชื่อว่าสุวรรณภูมิ ดินแดนส่วนนี้เคยมีพวกอินเดีย มอญ ขะแมร์ อาศัยอยู่ทั่วไป ถ้าเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ทำโดยมนุษย์ที่สืบเชื้อสายมาจากมนุษย์พันธุ์ไทย เช่น หม้อทะนนที่ขุดพบที่จังหวัดนครปฐม จะมีส่วนตกแต่งและการผสมเนื้อดินที่พัฒนาการมาจากหม้อทะนนที่ขุดพบที่จังหวัดเพชรบุรี แต่เครื่องปั้นดินเผาของพวกมอญ ขะแมร์ มีลักษณะ (Decoration) มากกว่าของช่างไทย นิยมทำเส้น ลวดลายและส่วนโค้งซับซ้อนกว่าของ

ประวัติความเป็นในไทย สมัยสุวรรณภูมิ

สมัยสุวรรณภูมิ (อ้ายลาว ประมาณ พ.ศ. 300 - พ.ศ. 800) เนื่องจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนา พวกอินเดีย มอญ ขะแมร์ จึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย การทำเครื่องปั้นดินเผาได้เจริญขึ้น และมีรูปทรงต่างๆ ซับซ้อนกว่าเดิม แตกต่างกับช่างไทย ซึ่งยังคงพัฒนาการมาจากหม้อทะนน และเป็นแบบของอาณาจักรอ้ายลาว

ประวัติความเป็นในไทย สมัยทวาราวดี

สมัยทวาราวดี (น่านเจ้า ประมาณ พ.ศ. 800 - พ.ศ. 1400) ไทยมัยทวาราวดีเดิมเข้าใจว่าเป็นพวกมอญในอาณาจักรสุวรรณภูมิ แต่จากการค้นพบศิลปวัตถุและทางวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผา ทำให้เชื่อได้ว่าไทยมีเมืองของตนเอง และการปกครองเป็นปึกแผ่น เครื่องปั้นดินเผาที่ค้นพบมีรูปทรงโค้งสองโค้งกลับกัน ปากผายเป็นปากแตร มีลักษณะเช่นเดียวกับช่างของอ้ายลาวซึ่งพบทางเมืองเชียงแสนและพบมากในลุ่มน้ำยม สวรรคโลก ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี

ประวัติความเป็นในไทย สมัยเชลียงหรือสมัยขอมมีอำนาจ

สมัยเชลียงหรือสมัยขอมมีอำนาจ (ประมาณ พ.ศ. 1100 - พ.ศ. 1600 ) ขอมมีอำนาจและตีอาณาจักรมอญได้ราว พ.ศ. 1600 เครื่องปั้นดินเผาที่พบในสมัยนี้มีเทคนิคในการปั้นและมีความงดงาม แบ่งได้ 3 พวก คือ
1. ทำโดยช่างไทย รูปทรงและความงามส่วนใหญ่วิวัฒนาการมาจากแบบไทยปและอาณาจักรอ้ายลาวกับน่านเจ้าตอนต้น ใช้เคลือบขี้เถ้าผสมกับดินแดงเผาสุกแล้วเป็นสีน้ำตาล แต่บางทีค่อนข้างดำ และยังมีเคลือบขาวหม่น ซึ่งเรียกว่า "เคลือบขุ่น" (White matt glaze) ใช้ขี้เถ้ากับน้ำเป็นเคลือบ ใช้ความร้อนเผาประมาณ 1200 - 1300 ซ. ในสมัยนี้ไทยส่งไปขายทางหมู่เกาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะใกล้เคียงอื่นๆ
2. ทำโดยช่างขอม ขอมได้รับอิทธิพลจากการปั้นรูปและวิธีเคลือบจากไทย แต่ขอมใช้ดินแดงอย่างเดียว รูปทรงภายนอกมีส่วนโค้งมาก เพิ่มลวดลายด้วยการแต่งบนแป้นหมุน
3. ทำโดยช่างมอญ มีการพัฒนาการทางรูปร่างและการประดิษฐ์มากขึ้น ที่แพร่หลายก็คือเครื่องปั้นดินเผา และภาพปั้นดินเผา (Figure Pottery) ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบในสมัยนี้ มีแต่ขัดมันด้วยน้ำดินข้น ซึ่งมอญทำได้ดียิ่ง มีความทนทานอยู่ได้เป็นพันๆ

ประวัติความเป็นในไทย สมัยก่อนสุโขทัยและสมัยเชียงแสน

สมัยก่อนสุโขทัยและสมัยเชียงแสน (ประมาณ พ.ศ. 1600 - พ.ศ. 1800) เป็นสมัยที่ไทยอยู่กระจัดกระจาย เครื่องปั้นดินเผาและซากเมืองที่ค้นพบ สันนิษฐานได้ว่าเป็นเมืองของไทย เช่น โยนก เชียงแสน เวียงป่าเป้า บ้านเตาไห ในสมัยนี้ความรู้ทางเครื่องปั้นดินเผาของไทยสูงมาก ทำเคลือบได้หลายชนิด เช่นเดียวกับช่างไทยในประเทศจีน เคลือบต่างๆ แยกออกได้ดังนี้
1. เคลือบเหล็ก เป็นสีน้ำตาลแก่ - น้ำตาลอ่อน
2. เคลือบสีขี้เถ้าขาว สำหรับเครื่องหิน
3. เคลือบขี้เถ้าสีเทา
4. เคลือบหิน (Celadon) แบ่งเป็น
    - เคลือบใส
    - เคลือบขุ่น
    - เคลือบทึบ
5. เคลือบใสทับสลิปขาว
เครื่องปั้นดินเผาของไทยสมัยนี้จัดอยู่ในระดับฝีมือสูงมาก และตรงกับสมัยของจีนตอนต้น รูปทรงเครื่องปั้นดินเผาไทยสมัยนี้จัดได้เป็น 3 แบบ คือ
    1. วิวัฒนาการมาจากแบบเก่า
    2. คิดดัดแปลงขึ้นมาใหม่
    3. รับอิทธิพลมาจากจีน

ประวัติความเป็นในไทย สมัยสุโขทัย

สมัยสุโขทัย พงศาวดารเหนือมีเนื้อความตรงกับจดหมายเหตุจีนว่า เมื่อครั้งสุโขทัยเป็นราชธานีของสยามประเทศ สมเด็จพระร่วงเจ้า (รัชกาลที่ 3 พ่อขุนรามคำแหง) ได้เสด็จไปเมืองจีน เมื่อปีมะแม จุลศักราช 656 (พ.ศ. 1873) และนำช่างเครื่องปั้นถ้วยชามเข้ามาทำในเมืองไทย ซากเตาที่เรียกว่า "เตาทุเรียง" ครั้งนั้นยังปรากฏที่เมื่องสุโขทัยด้านเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปประมาณ 30 เส้น ที่เมืองสวรรคโลกริมน้ำยมเหนือเมืองศรีสัชนาลัย 2 แห่ง ที่เมืองสองแคว (พิษณุโลก) "บ้านเตาไห" อีก 1 แห่ง (แต่ยังหาซากเตาไม่พบ) ลักษณะสำคัญของเครื่องปั้นดินเผาในสมัยนี้ แยกออกไป 3 ลักษณะคือ
1. เนื้อด้านไม่เคลือบ เผา Bid-cuit อย่างเดียว
2. เคลือบเนื้อหยาบ พวกอ่างมังกร
3. เคลือบเนื้อละเอียด พวกเครื่องถ้วยแบบของจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยนี้ ตกแต่งลวดลายด้วยการเขียน โดยแช่โลหะเกล็ด ( Iron Oxide - Manganese Oxide) ใช้เขียนทับสลิปขาว หรือเขียนบนดินเคลือบใสทับ ฝีมือดีทัดเทียมช่างจีน แต่เนื้อหนากว่า พวกไม่เคลือบทำเป็นตุ่มใหญ่สีดำ แจกันปักดอกไม้ทรงจีนสีเหลือง การดำเนินการครั้งนั้น ทำเป็นอุตสาหกรรมการค้า ส่งขายต่างประเทศซึ่งครั้งกระนั้นมี เชียงใหม่ หลวงพระบาง ตะนาวศรี เครื่องถ้วยชามไทย ทำอยู่ประมาณร้อยปีเศษก็เลิกล้มไปเพราะต้องทำสงครามกันอยู่เรื่อยๆ

ประวัติความเป็นในไทย สมัยอยุธยา

สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1900 - พ.ศ. 2300) ในสมัยนี้ไม่ปรากฏว่ามีการทำเครื่องถ้วยชามแต่มีเครื่องถ้วยชามที่ทำในสมัยสุโขทัยใช้ และมีเครื่องถ้วยชามของจีนแบญี่ปุ่นเข้ามาใช้ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนเครื่องถ้วยชามของฝรั่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยอยุธยานี้เข้าใจว่ามีการสั่งทำเครื่องถ้วยชามจากต่างประเทศ แต่ให้เขียนแบบไทย

ประวัติความเป็นในไทย สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยรัชกาลที่ 1 เริ่มฟื้นฟูเครื่องปั้นดินเผา แต่เป็นการสั่งทำจากเมืองจีนโดยให้ช่างหลวงเขียนตัวอย่างลายไทยและส่งช่างไทยไปควบคุมการเขียนลวดลายให้เหมือนด้วยเครื่องปั้นดินเผาที่สั่งทำส่วนใหญ่เป็นพวกจาน ชาม โถ กระโถนและถ้วย ลายที่เขียนเป็นลายไทยและเขียนสีบนพื้นถ้วยขาวบ้าง เขียนสีเบญจรงค์บ้าง ตัวอย่าง เช่น ชามลายก้นขด เขียนสีบนพื้นถ้วย เช่นเขียนรูปครุฑ ราชสีห์ และเทพนม ปรากฏว่าฝีมือดีกว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา


สมัยรัชกาลที่ 2 ฝีมือช่างเขียนไทยเจริญมากขึ้น เครื่องถ้วยชามที่สั่งทำจากประเทศจีน ก็คิดแก้ไขรูปทรงและลวดลาย มีลายประดิษฐ์ใหม่ เช่น ลายดอกกุหลาบส่วนลายแบบจีน เช่น ลายดอกไม้จีน ลายสิงโต ก็นำมาปรับเขียนใหม่ให้เข้ากับความนิยมของคนไทยโดยใช้สีทองเขียนประกอบ เครื่องถ้วยของไทยที่นิยมกันมากในปัจจุบันคือ เครื่องถ้วยที่สั่งทำในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่เรียกว่า ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ (สมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 2 ) ทั้งนี้เพราะทรงเป็นพระธุระในการสั่งทำ


สมัยรัชกาลที่ 3 มีการสั่งของจากต่างประเทศเท่าที่จำเป็น แต่พระองค์ทรงทำนุบำรุงฟื้นฟูเครื่องปั้นดินเผาในประเทศกล่าวคือ ทรงทำนุบำรุงการทำกระเบื้องเคลือบมุงหลังคา กระเบื้องเคลือบสีเป็นเครื่องประดับ โดยใช้เตาเผาแบบเตาทุเรียง ซึ่งสร้างที่วัดสระเกศ


สมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากราชทูตไทยซึ่งไปประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2395 ถูกผู้ร้ายปล้นจึงไม่มีการส่งราชทูตไปประเทศจีนอีก รวมทั้งไม่มีการส่งช่างไทยไปตรวจตราการทำเครื่องปั้นดินเผาด้วย การสั่งทำจากประเทศจีนเป็นเรื่องของพ่อค้าในกรุงเทพฯ เป็นผู้สั่งลายคราม เครื่องถ้วยชามที่สั่งจากจีนจึงเป็นลายครามเขียนลายจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ลายน้ำทองมีสั่งบ้างโดยให้แบบลายไทยไปทำ แต่ฝีมือสู้ครั้งสมัยรัชกาลที่ 2 ไม่ได้


สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะที่เจริญรุ่งเรืองมาก การศึกษาวิชาการก็ขยายตัวแพร่หลาย เครื่องถ้วยชามที่สั่งเข้ามาค้าขายในเมืองไทยก็มีทั้งของจีน ญี่ปุ่น ปละฝรั่ง ในสมัยนั้นนิยมใช้ของฝรั่งลวดลายฝรั่งกันมาก แต่ที่สั่งทำเป็นรูปทรงแบบไทยก็มีมาก ของญี่ปุ่นโดยมากเป็นถ้วยชามและเครื่องแต่งเรือน ทั้งนี้เป็นเพราะญี่ปุ่นเริ่มทำเลียนแบบของจีนได้ดี ในสมัยนั้นในเมืองไทยมีการทำกันเฉพาะการเขียนลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาเท่านั้น


สมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยเริ่มมีโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อหยาบ เช่น กระถาง โอ่ง อ่างและไห ซึ่งมีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ


สมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ. 2475 หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลพยายามจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติ โดยการส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมากขึ้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตาสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริม และมีผู้สนใจทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ขณะนั้นคือ โอ่ง อ่าง และไห ผลิตภัณฑ์เนื้อดีที่ผลิตได้บ้างก็ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ


สมัยรัชกาลที่ 8 และสมัยรัชกาลที่ 9 (สมัยปัจจุบัน) การประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาหรืออุตสาหกรรมเซรามิกส์ ถ้าจะให้ได้ผลดีจะต้องอาศัยหลักวิชาการและเทคโนโลยีเข้าร่วมประกอบกับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิกส์ด้านวิชาการและเทคโนโลยีในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน มีส่วนช่วยเป็นอันมากในปี พ.ศ. 2478 กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เริ่มดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ได้เริ่มมีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา โดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปรับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในต่างประเทศแล้วกลับมาพัฒนาบุคลากรของกรมด้านวิชาการและเทคโนโลยี และได้ทำการศึกษาวิจัยวัตถุดิบ โดยการสำรวจ วิเคราะห์ และทดสอบ วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น ดินและหินชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผลจากการสำรวจและการวิเคราะห์วิจัย พบว่า ประเทศไทยมีวัตถุดิบชนิดดีปริมาณมาก สามารถใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดดีได้ เป็นผลให้มีการลงทุนสร้างโรงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นอีกมาก ในปี พ.ศ. 2503 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ประกาศให้การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2508 จึงมีโรงงานอุตสากรรมเซรามิกส์เกิดขึ้น 8 แห่ง ที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้มีกระเบื้องปูพื้น กระเบื้อบุผนัง กระเบื้องโมเสค และเครื่องสุขภัณฑ์ และในปี พ.ศ. 2508 นี้เอง สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนโดยให้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปลายแผนที่ 1 จนถึงแผนที่ 4 ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซรามิกส์ได้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างมาก มีโรงงานเซรามิกส์ขนาดใหญ่ประมาณ 10 โรงงาน ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง โรงงานขนาดเล็กอีกหลายร้อยโรงงานกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดลำปาง มีอยู่ประมาณ 50 โรงงาน โรงงานเหล่านี้ผลิตถ้วย ชาม เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องโลหะเคลือบ โมเสค กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องประดับ ผนังเครื่องฉนวนไฟฟ้า และอิฐก่อสร้าง ปริมาณการผลิตพอเพียงต่อการใช้ภายในประเทศและยังส่งออกขายยังต่างประเทศในปี พ.ศ. 2528 ประมาณ 500 ล้านบาท
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน มีหน่วยงานในสังกัด 2 หน่วยงาน ซึ่งทำการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิกส์ คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วพป. วศ.) และสาขาวิจัยอุตสาหกรรมโลหะและเซรามิกส์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวซ. วท.)

ประวัติความเป็นมาเริ่มพบในโลก

เครื่องปั้นดินเผา เป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่งของมนุษย์เรา มนุษย์ชาติได้ทำกันมาแต่โบราณกาลที่สุด และถ่ายทอดกันมาถึงปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้ การทำเครื่องปั้นดินเผาในสมัยแรก จากหลักฐานการค้นคว้า ได้พบเครื่องปั้นดินเผาราวก่อนศริสตกาลประมราณ1500-4000 ผลิตภัณฑ์ที่ค้นพบได้แก่อิฐ ชนชาติเก่าแก่ที่สุดที่รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา คือ ชาวอียิปต์โบราณ ซึ่งอาศัยกันอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำไนท์ ตามประวัติศาสตร์การขุดค้นพบซากของเหยือกน้ำ ได้ทำการวิจัยเครื่องปั้นดินเผานี้มีอายุถึงหมื่นปีล่วงมาแล้วยังมีชนชาติเก่าแก่ที่สามารถทำได้เช่นกัน ได้แก่ ชาวจีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ กรีก โรมัน เป็นต้น

เซรามิกส์ เป็นศิลปโบราณวัตถุอย่างหนึ่งมีอยู่ในทุกชาติทุกภาษา เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชาติสืบต่อเนื่องกันมา ซึ่งต่างก็มีแนวความคิดเห็นในการสร้างหรือประดิษฐ์วัตถุเครื่องใช้ต่างๆ เป็นแบบของตนเองหรือบางครั้งอาจจะได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง เดิมจะประดิษฐ์ขึ้นจากเนื้อดินหยาบๆ ต่อมาก็จะปรับปรุงพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านวิชาการ รูปแบบ ทรวดทรง คุณค่าทางการใช้สอย การตกแต่งสีและลวดลายให้งดงาม อย่างชนิดที่เรียกว่า "เครื่องถ้วย" ซึ่งหมายถึงพวก "Porcelain" นั้น เท่าที่รวบรวมได้ ได้แก่

1. ประเทศจีน เป็นประเทศแรกที่สามารถทำได้ เริ่มตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 300ในสมัยราชวงศ์ฮั่น และเจริญวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ
2. ประเทศอิตาลี่ เริ่มทำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2013
3. ประเทศญี่ปุ่น เริ่มทำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2143
4. ประเทศฝรั่งเศส เริ่มทำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2207
5. ประเทศอังกฤษ เริ่มทำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2214
6. ประเทศเยอรมัน เริ่มทำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2243

 

ประกาศ แนะนำสินค้าหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ งานโอทอป ทั่วไทย

งานฝีมือ | งานหินทราย | เครื่องเขิน | เครื่องเงิน | เครื่องปั้นดินเผา | เครื่องเพชรพลอย | เซรามิก | อื่นๆ จิปาถะ

   
 

Cast Stone Garden

The Dan Kwian products become one of the major export goods from Korat, Thailand.
copyright © 1999 - 2021 DanKwian.com : The Land of Ceramics.